วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550




ZWANI.com - The place for myspace comments, glitters, graphics, backgrounds and codes

ความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตราบใดที่ผู้บริหาร อาจารย์ ครูในสถานศึกษา ไม่เข้าใจในประโยชน์ ไม่รับรู้หรือรับทราบ ไม่ติดตามข่าวสาร ไม่เคยใช้หรือเคยชินกับเทคโนโลยีเหล่านั้นก็จะทำให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่ถูกนำไปเผยแพร่ในสถานศึกษาไม่ว่าสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเหล่านั้นจะดีเพียงใดการยอมรับที่จะทำความรู้จัก เข้าใจ การนำไปใช้ จนเป็นนิสัย หรือนำไปใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ขึ้นอยู่กับตัวของบุคคลเป็นสำคัญ 2 กลุ่ม คือ
ผู้บริหาร และครู-อาจารย์ถ้าบุคคล 2กลุ่มขาดการยอมรับความรู้ความเข้าใจไม่เคยนำไปใช้หรือไม่เคยเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใดๆ เลย จะทำให้ยากต่อการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้สถานศึกษา
...........กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในด้านข้อมูลสารสนเทศในเรื่องต่อไปนี้
1.ส่งเสริมให้หน่วยงานและสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Oganization)
ได้แก่ การส่งเสริมให้มีการนำอินเตอร์เน็ตมาใช้ในหน่วยงานและสถานศึกษาให้มากขึ้น และให้ทั่วถึงทุกโรงเรียน
2.ส่งเสริมให้ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศ (IT) และสามารถนำมา
ใช้ในการทำงานได้ ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้มีการกำหนดนโยบายเรื่องนี้ไว้ชัดเจนว่า ในการฝึกอบรมบุคลากรของหน่วยงาน / สถานศึกษา ขอให้อบรม 2 เรื่อง คือ ภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์
3.ส่งเสริมให้สถานศึกษามีระบบเครือข่ายโรงเรียน (School Net) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าไปสู่โลก
แห่งความรู้ ดังนั้นหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการวางแผนดำเนินการในเรื่องนี้ด้วย
ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้มีการประสานงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการใช้อินเตอร์เน็ตในระดับตำบล ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 3 บาท โดยรองนายกรัฐมนตรีขอหารือเกี่ยวกับขอยกเว้นค่าใช้จ่าย ดังกล่าว

........บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
....1.เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวิดีโออนนดีมานด์(Video on Demand)วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
....2.เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการการติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
....3.เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้นซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น +

......การพัฒนาการเรียนการสอน

การพัฒนาในหมวดนี้เป็นการพัฒนาในรูปแบบของการปรับรื้อระบบการเรียนการสอนใหม่ โดยคำนึงถึงการพัฒนาที่เกี่ยวกับการเจริญงอกงามในตัวผู้เรียนเน้นทักษะการเลือกสารสนเทศ การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารขณะเดียวกันต้องทำการฝึกทักษะกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลข่าวสารให้กับผู้เรียนพร้อมกับการตอบสนองกับข้อมูลข่าวสารอย่างชาญฉลาด ครู และนักเรียนต้องช่วยกันสร้างสรรค์สารสนเทศ เพื่อให้เกิดคุณค่าต่อการเรียนการสอนครูต้องพัฒนาการสอนโดยเพิ่มทักษะการสืบค้นสารสนเทศให้กับนักเรียน และประเมินผลจากการนำมาใช้มากกว่าการจดจำเนื้อหา หมายถึงอาศัยสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการเสนอแนวคิดและเนื้อหาเพื่อก่อให้เกิดกระบวนการเข้าใจมากกว่าการจดจำ
รูปแบบกระบวนการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดในการปฏิรูปต้องแตกต่างไปจากการเรียนการสอนแบบดั่งเดิม กล่าวคือ
1.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิดโดยฝึกการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผลการใฝ่หาความรู้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม
2. จัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งความรู้สำหรับการค้นคว้าหาความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการ เช่น สื่อมวลชนทุกแขนงเครื่องคอม- พิวเตอร์ทรัพยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน และหน่วยงานต่าง ๆ ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเอง และพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้าง-ขวาง
3. จัดกิจกรรมทั้งในและนอกหลักสูตรโดยให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่ต้องเรียนในห้องเรียนให้เสร็จสิ้นและให้แบ่งเวลาทำกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อเสริมประสบการณ์ทางสังคม
4. ปรับกระบวนการเรียนการสอน และเทคนิคการสอนของครูให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการจัดการศึกษา เน้นให้ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความ-สะดวกและชี้แนะให้ผู้เรียนทำการศึกษาค้นคว้า คิดและตัดสินใจด้วยตนเอง ขณะเดียวกันครูต้องเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม และจริยธรรมด้วย ซึ่งต้องปลูกฝังทั้งในชั่วโมงเรียนและกิจกรรมการฝึกปฏิบัติ
.....การจัดการศึกษา การเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อระบบโครงสร้างของการจัดการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งสามารถสรุปเป็นด้าน ๆ ได้ดังนี้

.....องค์ประกอบทางการศึกษา
......1.ระบบสังคม
- การศึกษาควรตอบสนองระบบสังคมยุคเทคโนโลยีสารสนเทศโดยให้คุณค่าในสารสนเทศ- เน้นการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของ สังคม
......2.ระบบความคิดเห็นของชุมชน นักเรียนและครู
- ให้ทุกคนสามารถคิดได้หลากหลายและสามารถ แสดงความคิดเห็นได้- ใช้การวิเคราะห์ความต้องการ
คุณค่าและจุดมุ่งหมายในการเรียน
- เน้นคุณภาพและคุณค่าในแต่ละบุคคล- ตอบสนองความพึงพอใจเป็นหลัก
กลุ่มผู้เรียน
- เน้นการศึกษาในกลุ่มเล็ก- เน้นการศึกษาเป็นรายบุคคล
หลักสูตร
- เป็นหลักสูตรแบบยืดหยุ่น- กระจายโอกาสทางการศึกษา- กระจายและมีหลักสูตรหลาย ๆ ด้าน
การประเมินผล
- ประเมินผลหลาย ๆ ด้าน- ให้คุณค่าต่อการคิดวิเคราะห์และแสดงเหตุผล

- พิจารณาจากการพัฒนาในตัวผู้เรียนเป็นเกณฑ์
สื่อและเทคโนโลยี
- ใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนมากกว่าการสอนเช่น มัลติมีเดีย ซีดีรอม อิเล็กทรอนิกส์ บุคคล วิดีโอ ออน์มานด์ วิดีโอเทเลคอนเฟอร์เรนซ์ ไฮเปอร์เท็กซ์ และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น- เทคนิคกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดกระทำกับสารสนเทศ เลือกวิเคราะห์สร้างสรรค์ ประเมินสารสนเทศเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และการนำเสนอความรู้นั้น
สถานที่และการบริการ
- กระจายการบริการสู่ชุมชน- จัดเป็นกลุ่มเล็ก- สร้างเครือข่ายการเรียนรู้- ใช้การสื่อสารเพื่อการปฏิสัมพันธ์เป็นหลัก

......3.คุณลักษณะของผู้เรียน
- เน้นความสามารถในการสืบค้นสารสนเทศ

- เน้นความสามารถในการจินตนาการและสร้างสรรค์

- เน้นความสามารถในการนำเสนอความรู้ใหม่หรือ แนวคิดใหม่

- เน้นความสามารถในการสื่อสารกันด้วยสื่อสารสนเทศ

- เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์แบบเชิงเหตุเชิงผล

สรุปได้ว่า หลายประเทศกำลังรีบเร่งนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้เพื่อ
การศึกษากันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ให้เป็น
ระบบกลางที่มีราคาถูก เพื่อส่งเสริมการศึกษาของประชาชน การเรียนรู้วิธีนี้จะอาศัยแหล่งความรู้ที่ได้จาก
ทั่วโลก

......การจัดการศึกษายุคของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ใหม่ และเปลี่ยนแปลงความต้องการในการศึกษาในอนาคต สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศแบบใหม่เข้ามาแทนที่สื่อแบบเก่า แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้จะเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาแบบใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้นปรับปรุงโครงสร้างทั้งระบบใหม่โดยเฉพาะการบริหารการบริการการพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา ซึ่งจากเดิมสถาบันการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบมาเป็นสังคมและชุมชนร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น
......เทคโนโลยีคือการนำความรู้มาใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ 3 ประการ
1.เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสังคม
2.เพื่อประโยชน์ของเศรษฐกิจหรือการค้า
3.เพื่อนุรักษ์ พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

ที่มา: ผศ. ดร. พัลลภ พิริยะสุรวงศ์ วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา ปีที่ 12 ฉบับที่ 34 เม.ย. - มิ.ย. 43

*****เทคโนโลยีสารสนเทศ ในแง่มุมที่ข้าพเจ้าสนใจ คือ*****

........เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย

....1.เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวิดีโออนนดีมานด์(Video on Demand)วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น

....2.เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการการติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้

....3.เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้นซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวกับเครือข่ายการเรียนรู้

......1.การเรียนบนเครือข่ายเป็นอย่างไร?
ระบบการศึกษาในปัจจุบันนับเป็นการเรียนรู้แบบตลอดชีวิต มีเนื้อหาสาระที่ต้องเรียนรู้เป็นจำนวนมากตลอดเวลา โดยมี การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของมนุษย์ ให้เข้าสู่ระบบการสร้างบุคลากรให้คิดเป็น ทำเป็น และเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึง แหล่งความรู้ และค้นหาคำตอบที่ต้องการได้ด้วยตนเองในระยะเวลาอันสั้น โดยอาศัยระบบเครือข่ายการสื่อสาร และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการพัฒนาเทคนิคการรับและส่งข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว
........2. ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้
หมายถึง การเรียนรู้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมทางการศึกษาของมนุษย์
ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษาผู้ใหญ่ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ
คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบ การทำงาน และเครือข่ายการสื่อสาร
นอกจากนี้การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนยังแตกต่างกันออกไป ตามความสามารถในการสื่อสาร
ของตัวผู้เรียนเอง และสภาวะแวดล้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลอีกด้วย
........3.การศึกษาในเครือข่ายการเรียนรู้ นับเป็นการศึกษาแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning) เป็นการเรียนการสอนที่ ไม่จำกัดเวลา สถานที่ และบุคคล ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนเวลาใด สถานที่ใด กับบุคคลใดก็ได้โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาใช้ในการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายภายในสถานศึกษา และเชื่อมต่อไปสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเรียนรู้ของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนมีความพร้อม และสะดวกในการเรียนแต่ละครั้งผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากบทเรียน ออนไลน์ มีการใช้เว็บบอร์ด ใช้ระบบมัลติมีเดียเพื่อเชื่อมการเรียน การสอนถึงกันตลอดเวลา ทำให้เกิดการเรียนการสอนทางไกล และการเรียนการสอนออนดีมานด์
.......4.ความสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
ปัจจุบันมีการสร้างระบบเครือข่ายการเรียนรู้กันมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดระบบการเรียน การสอน รูปแบบใหม่ในสถานบันการศึกษา เช่น เครือข่ายภายในโรงเรียน หรือภายในสถาบันอุดมศึกษา และเชื่อมโยงกันระหว่าง วิทยาเขตจัดเป็นแคมปัสเน็ตเวิร์ค ก่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน เพื่อร่วมมือกันทำงานได้มากขึ้น เป็นสื่อกลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้ทั่วโลก รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ อินทราเน็ตในการส่งข่าวสารได้

......5.เครือข่ายการเรียนรู้
เมื่อนำระบบเครือข่ายการเรียนรู้เข้ามาใช้กับระบบการศึกษา ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมายใน วงการศึกษา ทั้งในด้านรูปแบบการเรียนการสอน บทบาทของผู้สอน บทบาทของผู้เรียน ดังนี้
5.1. รูปแบบการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนเป็นหลักในการแสวงหา ค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองมากขึ้นจาก แหล่งสารสนเทศต่างๆ ทั่วโลก และจากสื่อหลากหลายประเภทนอกเหนือจากหนังสือ รวมทั้งสามารถเลือกเวลาและ สถานที่ในการศึกษาได้เอง และสามารถเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความชำนาญที่สนใจในการปรึกษาขอคำแนะนำได้ โดยผ่านระบบเทคโนโลยี ซึ่งต่างจากระบบเดิมที่เน้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิงโครนัส คือ มีการจัดตารางสอน วิชาเรียน และกำหนดสถานที่เรียนไว้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรภายในโรงเรียนอย่างเต็มที่
5.2. บทบาทของผู้สอน จากระบบเดิมที่เน้นให้ครูเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอนเปลี่ยนไปสู่ระบบที่ครู เป็นเพียงผู้ชี้แนะหรือเป็นที่ปรึกษาในสาขาวิชาที่สอนโดยผ่านทางเครือข่าย ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องค้นหาวิธีการสอนใหม่ๆ ข้อมูล และ อุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ในการสอนอยู่เสมอ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านระบบ เครือข่าย
5.3.บทบาทของผู้เรียน เปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมที่นักเรียนเป็นเพียงผู้รับฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งของครูไม่มีโอกาส แสดงความคิดเห็นมากนัก รับฟังความรู้ความคิดเห็นจากครูเป็นหลัก ไปสู่ระบบที่นักเรียนต้องเป็นผู้แสวงหาด้วยตนเอง ต้องกระตือรือร้น และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าของวิทยาการ และสนองต่อความต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้มากขึ้น โดยมีครูเป็นเพียงที่ปรึกษา แนะแนวทางในการศึกษาค้นคว้า
5.4.บทบาทของการเรียนการสอน มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ โดยเฉพาะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเปิดช่องทางไปสู่แหล่งความรู้ต่างๆ ได้ทั่วโลก
5.5. ห้องเรียน สำหรับผู้สอน ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอน คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ แสดงภาพ วิดีโอโปรเจคเตอร์ เชื่อมเข้าสู่ระบบเครือข่าย และระบบอินเทอร์เน็ต
5.6. ศูนย์เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียน เป็นสถานที่ที่ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการ ค้นคว้า เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายภายในสถาบันการศึกษา รวมทั้งสามารถใช้ผ่านโมเด็มจากบ้านของผู้เรียนเข้าสู่ เครือข่ายได้ตลอด 24 ชั่วโมง
5.7. ฐานบริการข้อมูลการเรียน เป็นที่เก็บข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของตัวอักษร รูปภาพ และเสียง ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียกใช้งานได้ตลอดเวลาประกอบด้วย
5.7.1 ฐานบริการเว็บ จัดเก็บข้อมูลเนื้อหา ตำรา วิชาการ ในรูปของอักษร ภาพ และเสียง
5.7.2 ฐานบริการ Real Audio เป็นสถานี วิทยุเพื่อการศึกษาบนเครือข่าย
5.7.3 ฐานบริการ Real Video เป็นสถานีบริการทีวีออนดีมานด์
5.7.4 ฐานบริการกระดานข่าว (Web board) เป็นสถานีบริการจัดแสดงข่าวสารที่บุคคลต้องการประกาศ
5.7.5 Virtual library และ Digital library เป็นระบบห้องสมุดบนเครือข่าย เป็นแหล่งเก็บข้อมูล ข่าวสารวิชาการต่างๆ ที่สามารถเรียกใช้งานเครือข่ายได้ และสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ทั่วโลก
5.8. Student Homepage เป็นที่เก็บข้อมูล ข่าวสารของนักเรียน และส่งการบ้านให้ครูตรวจได้โดยแจ้ง pointer บอกตำแหน่งให้ครูทราบ
..........6.องค์ประกอบด้านโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
6.1.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจเป็นเครื่องส่วนบุคคล หรือเครื่อง ที่อยู่ในระบบเครือข่ายก็ได้ พร้อมกับโมเด็ม เพื่อใช้ในการติดต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายการเรียนรู้ของ สถาบัน หรือระบบอื่นๆ
6.2.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) ที่ใช้ควบคุมระบบการทำงานของเครื่อง และสามารถติดต่อโต้ตอบ กันในระบบเครือข่ายได้ เช่น ในรูปของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เว็บข่าว (Web board) และการประชุมผ่าน คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
6.3.ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ที่ใช้เป็นช่องทางในการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายภายใน และเครือข่าย ขนาดใหญ่ได้แก่ ระบบ ATM Switch, Fast Switching, Router และอุปกรณ์สื่อสารผ่านไมโครเวฟ เพื่อรองรับการใช้งานใน ระบบโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ และการใช้งานข้อมูลข่าวสารบนเครือข่าย ให้อยู่ในสภาพของเครือข่าย ความเร็วสูงแบบมัลติมีเดีย มีผลให้การเชื่อมโยงระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น
7.คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้
7. 1.สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง ง่าย สะดวก นักเรียนสามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ง่าย และเชื่อมโยงเข้าหานักเรียนคนอื่น ได้ง่ายรวดเร็ว และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ที่มีเครือข่าย
7.2.เป็นการเรียนแบบร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม คุณลักษณะพื้นฐานของเครือข่ายการเรียนรู้ คือการเรียนแบบ ร่วมมือกัน ดังนั้นระบบเครือข่ายจึงควรเป็นกลุ่มของการเรียนรู้โดยผ่านระบบการสื่อสารที่สังคมยอมรับ เครือข่ายการเรียนรู้จึงมี รูปแบบของการร่วมกันบนพื้นฐานของการแบ่งปันความน่าสนใจ ของข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
7.3.สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ
7.4. ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และเน้นบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
7.5. จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์
8.เครือข่ายการเรียนรู้ในประเทศไทย
8.1 เครือข่ายไทยสาร
เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาต่างๆ ระดับมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกันกว่า 50 สถาบัน เริ่มจัดสร้างในปีพ.ศ.2535
8.2เครือข่ายยูนิเน็ต (UNINET)
เป็นเครือข่ายเพื่อการเรียนการสอนที่สำคัญในยุคโลกาภิวัตน์ จัดทำโดยทบวง มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2540
8.3สคูลเน็ต (SchoolNet)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ได้รับการดูแลและสนับสนุนโดยศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เครือข่ายนี้เชื่อมโยงโรงเรียนในประเทศไทยไว้กว่า 100 แห่ง และเปิดโอกาสให้โรงเรียนอื่นๆ และบุคคลที่สนใจเรียกเข้าเครือข่ายได้
8.4 เครือข่ายนนทรี เป็นเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับเป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์แบบและใช้เทคโนโลยีชั้นสูง สามารถตอบสนองความต้องการใช้ของนิสิต อาจารย์ ข้าราชการ ตลอดจนการรองรับทางด้านทรัพยากรเซอร์เวอร์อย่างพอเพียง

สรุปได้ว่า
การนำระบบเครือข่ายการเรียนรู้มาใช้ เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอน จากระบบเดิมที่จำกัดอยู่เฉพาะภายใน สถานศึกษา ไปสู่ระบบที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โอกาสในการเรียนรู้และการแสดงผลข้อมูลที่ต้องการซึ่ง โครงสร้างการศึกษาในระบบเดิมถูกกระตุ้นให้ตื่นตัว ด้วยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ใหม่ๆ ดังนั้น รูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ในอนาคต จะมีลักษณะเป็นรูปแบบการศึกษา แบบใหม่ ที่สนองความต้องการ และให้อำนาจแก่ ผู้สอนและผู้เรียนในการเลือกลักษณะการเรียนรู้ด้วยตัวเองตามความพร้อม และความสะดวกในการเรียน ซึ่งถือเป็นการสร้างพื้นฐาน การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาทั้งในด้าน รูปแบบ ขั้นตอนการเรียนการสอนและการปฏิบัติ
credit : ธนภัทร ลีพุด
http://www.edtech.itgo.com/education.htm

การจัดระบบการเรียนรู้

องค์ประกอบของระบบ
...องค์ประกอบของระบบ
1. จุดเด่นของระบบเป็นเรื่องของความสัมพันธ์เพื่อเป้าหมายร่วมกัน การดำเนินงานในลักษณะของระบบจึงไม่ใช่ต่างคนต่างทำ แต่จะเป็นการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุผลตามที่ตั้งไว้  องค์ประกอบหลักใหญ่ ๆ ที่สำคัญของการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอนจะประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักของระบบก็คือ 1. การวิเคราะห์2. การออกแบบ3. การพัฒนา4. การทดลองใช้5. การประเมินผลและปรับปรุง
...2. การทำงานของระบบจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
1. ตัวป้อน (input) ได้แก่ ทรัพยากร หรือข้อมูลนำเข้า
2. กระบวนการเนินงาน (process) ได้แก่ การปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลผลิต
3. ผลผลิต (output) ได้แก่ จุดหมายปลายทางของการดำเนินการ
4. ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ได้แก่ข้อมูล ข้อเสนอแนะเพื่อใช้ปรับปรุงแก้ไขให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
องค์ประกอบทั้ง 4 จะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง จะมีผลต่อองค์ประกอบอื่นและข้อบกพร่องขององค์ประกอบหนึ่ง ก็จะส่งผลให้องค์ประกอบอื่นบกพร่องด้วย
1. ข้อมูลสู่การสอน (Input) ได้แก่ การวางแผนการสอนทั้งด้านจุดประสงค์การสอน เนื้อหาการจัดกิจกรรมการสอน การใช้สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผลแล้วเขียนเป็นแผนการสอน
2. กระบวนการสอน (Process) เป็นขั้นดำเนินการสอนตามแผนการสอนที่เขียนขึ้น ตั้งแต่การนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นการสอน และขั้นสรุป ในขั้นนี้หัวใจสำคัญอยู่ที่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ทักษะและเทคนิคการสอนของผู้สอนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อดำเนินการสอนแล้วต้องมีการวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย
3. ผลการสอน (Output) เป็นขั้นการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนว่าเกิดผลสัมฤทธิ์มากน้อยเพียงใด หลังจากที่ได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนแล้วโดยนำผลการวัดมาประเมิน ถ้าผู้เรียนบรรลุผลตรงตามวัตถุประสงค์ก็แสดงว่าการจัดการเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ
4. ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นขั้นการวิเคราะห์ผล หรือย้อนกลับมาพิจารณาว่าในการจัดการเรียนการสอนนั้นมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง มีปัญหาประการใด โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ หรือผลสัมฤทธิ์ของ ผู้เรียน ถ้าผู้เรียนไม่บรรลุผลตามจุดประสงค์ ก็จำเป็นต้องพิจารณาหาสาเหตุว่ามีข้อบกพร่องในจุดใด แล้วปรับปรุงแก้ไขให้ได้ระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำไปใช้ต่อไป
ที่มา
http://www.drpaitoon.com/modules.php?op=modload&name=Sections&file=index&req=viewarticle&artid=2&page=1